เสื้อบอล แฟชั่นที่สาว ๆ ต้องเข้าใจ!!

คุณขาาา……จากกระแสอันร้อนแรงในโลกโซเชี่ยล หลังจากที่มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ ออกมาเปิดประเด็นการใส่เสื้อบอล “มันใช่หรือที่จะใส่เสื้อบอลออกนอกบ้าน” กลายเป็นประเด็นที่ร้อนแรงกันเลยที่เดียว ทำให้มีการพูดถึงกันในทวิตกันมากมาย บ้างก็แสดงความเห็นแบบขำ ๆ กันไป แต่โดยส่วนมากก็จะบอกว่ามันขึ้นอยู่กับคนใส่เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล

แหม …..แหม สำหรับเจ๊ก็ไม่อยากจะเข้าข้างใคร แต่เรื่องแบบนี้มันก็ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ไป ขึ้นอยู่กับกาลเทศะ มันก็คงไม่ใช่ทุกครั้งที่จะต้องใส่เสื้อบอลตลอดเว…

เจ๊…จะขอลำดับวิวัฒนาการก่อนที่เสื้อบอลจะกลายมาเป็นแฟชั่นไปทั่วโลกอย่างปัจจุบันนี้ เพราะเราจะเห็นได้ว่าสโมสรต่าง ๆ นอกจากจะดวลแข้งกันแล้ว ยังแข่งกันออกแบบชุดบอลให้ดูมีของกันมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสีสัน ลวดลาย ลูกเล่นต่าง ๆ จนไปถึงองค์ประกอบในส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะต้องมีความหมายซ่อนอยู่ และสิ่งเหล่านี้จะเป็นภาพจำเวลาที่นักเตะสวมใส่ลงแข่งในนัดต่าง ๆ

ยุคเริ่มต้นที่เมืองผู้ดี

  • ปี 1857 เริ่มมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลในเมืองผู้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เชฟฟิลด์ เอฟซี (ก่อตั้งปี 1857) ฮัลแลม (1860) น็อตส์ เคาน์ตี้ (1862) แต่ในช่วงเริ่มต้นนี้ยังไม่มีการกำหนดชุดที่แน่นอนนะจ๊ะ วิธีการแยกทีมของยุคนี้เขาน่ารักเสียด้วยโดยใช้วิธี ใส่หมวกแก๊ป ผ้าพันคอ หรือแม้แต่ใช้สายสะพาย อันนี้เขามีบันทึกกันเลยทีเดียวนะใน Cambridge Rules ได้ระบุไว้ว่า “นักเตะแต่ละคนจะต้องสวมหมวกแดงและสีฟ้า โดยทีมหนึ่งจะสวมหมวกสีฟ้า อีกทีมจะสวมสีแดง”
  • ปี 1870 เริ่มมีการพัฒนา ชุดที่ใส่จะเริ่มมีสีสัน หรือลายที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของแต่ละทีม และสโมสรที่มีชุดแข่งอย่างเป็นทางการคือ แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส ซึ่งออกแบบให้เสื้อเป็นสีฟ้าอ่อนและขาวตามสีของวิทยาลัยมัลเวิร์น
  • ปี1871 – 1872 เริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยแบบแพ้คัดออก หรือเอฟเอคัพ เริ่มมีการใช้วิธีแยกผู้แข่งขันด้วย ชุดแข่ง

เริ่มเข้าสู่ธุรกิจ

เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ก็เริ่มมีการวิวัฒนาการในการใช้ผ้าคอตตอน หรือขนสัตว์ที่เป็นเส้นใยธรรมชาติทำชุดแข่ง ด้วยเพราะว่า ฟุตบอล เริ่มมีคนสนใจมากขึ้น เริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้คนทั่วโลกทุกชนชั้น ทำให้พวกนักธุรกิจหัวใส เห็นช่องทางในการที่จะทำให้เสื้อบอลกลายมาเป็นแฟชั่น

ปี 1973 แบรนด์เสื้อชื่อดังในอังกฤษ ได้ผลิตชุดแข่งขันให้ ลีดส์ ยูไนเต็ด ซึ่งแอดมิรัลริเริ่มแนวคิดทำเสื้อเรพลิก้า (Replica) หรือเสื้อจำลองจากเสื้อแข่งขันจริง ด้วยผ้าที่ราคาถูกกว่าเสื้อแข่งจริง นำออกขายแฟนบอล ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดี ทำให้สโมสรใหญ่ ๆ ในอังกฤษเริ่มทำไม่ว่าจะเป็น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, เวสต์แฮม ยูไนเต็ด, เซาแธมป์ตัน ทำให้แฟนรุ่นเด็กอยากที่จะใส่ไปเตะบอลที่โรงเรียน หรือใส่ไปเที่ยวที่สวนสาธารณะ เป็นต้น

ธุรกิจเสื้อบอลก้าวไปพร้อมกับธุรกิจฟุตบอล

เริ่มตั้งแต่ปี 1990 – 2000 มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมาก เพราะเริ่มมีการถ่ายถอดสดการแข่งขันฟุตบอล จะต้องมีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดจำนวนมหาศาล ดังนั้นจากที่ใช้ชุดที่เป็นลายเดิม เริ่มเปลี่ยนไป และนอกจากจะวัฒนธรรมในการใส่เสื้อทีมโปรดเชียร์แล้ว ยังใส่ให้เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า ฉันเป็นแฟนคลับสโมสรนี้นะยะ

เสื้อแข่งในยุคนี้จะเน้นความหรูหรา แปลกตา อย่างเช่น ทำเสื้อที่ใส่ได้ 2 ด้าน เพื่อฉลองทริปเปิ้ลแชมป์ ในปี 1999-2000 ของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ปี 1993 บริษัท ไนกี้ จากทางฝั่งอเมริกา เริ่มเข้ามาทำธุรกิจที่ยุโรปบ้าง โดยเริ่มจากเป็นสปอนเซอร์ให้อาร์เซน่อลแทนอาดิดาส ทำให้เเร่มมีการแข่งขันสูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้คุณภาพของเสื้อแข่งดีขึ้น เช่น ถ่ายเทอากาศดีขึ้น แห้งเร็วขึ้น หรือแม้แต่ช่วยดึงความสามารถให้นักเตะ ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น โฆษณากันได้เวอร์วังมากจริง ๆ

แฟนบอลมีส่วนร่วมในการออกแบบ

เข้ามาสู่ปี 2000 Puma แบรนด์เสื้อชื่อดังของเยอรมัน ได้เริ่มเข้ามาออกแบบเสื้อให้กับ ฟูแล่ม ด้วยแนวคิดใหม่ คือ ลายของเสื้อไม่มีความสมดุล ขวาซ้ายไม่จำเป็นต้องเท่ากัน ทำให้เสื้อของ ทีมฟูแล่ม ในปี 2003 ได้รับความชื่นชอบอย่างมาก และได้ถูกนำมาใช้กันมากในฤดูกาลถัดมา

ใน ฤดูกาล 2006 – 2007 เริ่มเป็นครั้งแรกที่หลาย ๆ ลีก อนุญาติให้ติดโลโก้สปอนเซอร์ในชุดแข่งตัวที่ 2 ได้ แต่ที่อังกฤษ เพิ่งจะมาอนุญาติในฤดูกาล 2017 – 2018 นอกจากนี้ยังได้เปิดโอกาสให้แฟน ๆ บอลได้ออกแบบชุดแข่งขันในฤดูกาลหน้า หรือให้สิทธิ์โหวตเลือกชุดที่ชอบ

เสื้อบอลบนรันเวย์

มาถึงในปัจจุบันนี้เหล่าบรรดาเซเลบ ดาราระดับโลก หลายรายได้จับเอาเสื้อบอลของแบรนด์ดัง ๆ มาสวมใส่ เอ๊ะ…หรือเขาจะโดนข้าง เพื่อสร้างกระแสแฟชั่น ก็นั่นแหละนะเมื่อมันเป็นธุรกิจ นักการตลาดก็ต้องหาทุกวิถีทางที่จะทำให้ขายได้มากที่สุด ทำให้ผู้คนทุกชนชั้นนิยมใส่เสื้อบอลได้ทุกสถานการณ์

และด้วยความแรงของโซเชียลช่วยส่งเสริมจึงทำให้เทรนด์เสื้อบอลได้ขยายตัวเปลี่ยนไปเป็นแฟชั่น ที่เมื่อต่างเห็นไอดอลที่ชอบใส่ก็อยากจะใส่ตาม นอกจากนี้วัยรุ่นยังมองเสื้อบอลเป็นแฟชั่นที่โคตรคูล สบาย ๆ และก็ไม่น่าเชื่อว่าที่ ปารรีส แฟชั่นวีก และ มิลานแฟชั่นวีก จะเคยชว์ผลงานแฟชั่นที่เอาเสื้อแข่ง ผ้าพนคอ สัญลักษณ์ของสโมสรฟุตบอลต่าง ๆ มาออกแบบทำให้กลายเป็นแฟชั่นที่สุดชิคชิคไปได้อี๊กก….

เจ๊ร่ายลำดับมาซะยืดยาว เอาเป็นว่าไม่ว่าจะใส่ชุดอะไร หรือแม้กระทั่งชุดบอล ก็ต้องดูสถานที่ที่ไป กาลเทศะ ด้วยก็จะดีมาก เพราะแฟชั่นเสื้อผ้ามันอยู่ที่คุณจิตนาการว่าจะใส่แบบไหนมันเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คนมันจะหล่อจะสวยใส่ยังไงก็หล่อแหละนะ ขึ้นอยู่กับความมั่นหน้าแค่ไหนของแต่ละคน.

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on whatsapp
WhatsApp
Share on email
Email

บทความที่เกี่ยวข้อง